วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระชายดำ สมุนไพรเพิ่มสมรรถภาพท่านชาย

กระชายดำ หรือ โสมไทย หรือ โสมกระชายดำ ภาษาอังกฤษ Black Galingale กระชายดํา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wallich. จัดอยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE
สมุนไพรกระชายดำ ยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ขิงทราย (มหาสารคาม)กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ) เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากในจังหวัดเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ
กระชายดำมีสรรพคุณที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องของการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้กับผู้ชาย เราจึงเห็นอาหารเสริมท่านชาย สมุนไพรเพิ่มขนาด สมุนไพรทดแทนไวอากร้า ยาเพิ่มสมรรถภาพ สมุนไพรเพิ่มขนาด ฯลฯ หลายชนิดใช้ กระชายดำเป็นส่วนผสม ทำให้คนส่วนใหญ่จึงมักรู้จัก กระชายดำ ว่าเป็น สมุนไพรยอดชาย สมุนไพรเพิ่มขนาดน้องชาย สมุนไพรเสริมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งที่จริงเรื่องของการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสรรพคุณอันหลากหลายของกระชายดำเท่านั้นเอง ซึ่งสรรพคุณของกระชายดำนั้นสามารถแบ่งออกหลากหลายได้ดังนี้
1.      ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ มีคุณค่าทางคงกระพันชาตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินเช้าเย็น
2.      ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการใช้เหง้าผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยาดองเหล้า (เหง้า)
3.      ว่านกระชายดำ สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เหง้า)
4.      ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสดใส ดูผุดผ่อง (เหง้า)
5.      ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย[6] หากสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ (เหง้า)
6.      ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย แก้กามตายด้าน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาดองกับเหล้าขาวและน้ำผึ้งแท้ ดองทิ้งไว้ประมาณ 9-15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1-2 เป๊ก (กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่ายและบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงขึ้นได้)
7.      ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เหง้า)
8.      ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น (เหง้า)
9.      ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ (เหง้า)
10.   ช่วยบำรุงโลหิตของสตรี (เหง้า)
11.   ช่วยในระบบหมุนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น (เหง้า)
12.   ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เหง้า)
13.   ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาสมดุลของความดันโลหิต (เหง้า)
14.   ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (เหง้า)
15.   ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ (เหง้า)
16.   ช่วยแก้หอบหืด (เหง้า)
17.   ช่วยแก้อาการใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียน (เหง้า)
18.   เหง้าใช้ต้มดื่มแก้โรคตา ช่วยรักษาสายตา (เหง้า)
19.   ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ปากเป็นแผล ปากเปื่อย ปากแห้ง (เหง้า)
20.   ช่วยแก้โรคตานซางในเด็ก แก้ซางตานขโมยในเด็ก (เหง้า)
21.   ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (เหง้า)
22.   ช่วยรักษาโรคในช่องท้อง มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ (เหง้า)
23.   ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียด (เหง้า)
24.   ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดมวนในท้อง อาการท้องเดิน (เหง้า)หากมีอาการท้องเดินให้ใช้เหง้านำมาปิ้งไฟให้สุกแล้วนำมาตำให้ละเอียดใช้ผสมกับน้ำปูนใสแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกงหลังจากการถ่ายเนื่องมีอาการท้องเดิน (เหง้า)
25.   ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (เหง้า)
26.   ช่วยในการย่อยอาการ รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดความสมดุล (เหง้า)
27.   กระชายดำ สรรพคุณแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (เหง้า)
28.   ช่วยรักษาโรคบิด แก้อาการบิดเป็นมูกเลือด (เหง้า)
29.   สรรพคุณกระชายดำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา (เหง้า
30.   ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ (เหง้า)
31.   ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)
32.   ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (เหง้า)
33.   เหง้าใช้โขลกผสมกับเหล้าขาวคั้นเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อนได้ (เหง้า)
34.   ช่วยแก้ฝีอักเสบ (เหง้า)
35.   ช่วยรักษากลากเกลื้อน (เหง้า)
36.   ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้า (เหง้า)
37.   ช่วยรักษาโรคปวดข้อ (เหง้า)
38.   ช่วยรักษาโรคเก๊าท์ (เหง้า)
39.   ช่วยแก้อาการเหน็บชา (เหง้า)
40.   กระชายดำ สรรพคุณทางยาช่วยขับพิษต่างๆ ในร่างกาย (เหง้า)
41.   ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น (เหง้า)
42.   กระชายดำมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง (เหง้า)
สรรพคุณสำหรับผู้ชาย
ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย กระตุ้นประสาทเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ตายด้าน เพิ่มความอึด ความแข็งตัว ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอความแก่ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้โรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
สรรพคุณสำหรับสตรี

ช่วยบำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ตามตำรากล่าวว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล แก้ปวดมวนท้อง รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย รักษาโรคภูมิแพ้ขับพิษต่างๆในร่างกาย รักษาโรคบิด เป็นต้น จากข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า กระชายมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบเทียบได้กับยาหลายชนิด เช่น แอสไพริน อินโดเมธาซิน และเพรดนิซิโลน แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการวิจัยสนับสนุนสรรพคุณของกระชายดำมากนัก แต่มีการใช้กระชายดำเพื่อเสริมสุขภาพกันมาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น