เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่สตรีชั้นสูงชาวจีนบริโภคเก๋ากี่ เพื่อให้อ่อนเยาว์และสวยยิ่งขึ้น ตอนนี้โลกตะวันตกกำลังให้ความสนใจกับเบอร์รีที่มีประโยชน์ที่มีพลังในการรักษานี้ด้วย

เก๋ากี่คืออะไร?
- มีชื่ออีกอย่างว่า lyceum (Lycium barbarum, Lycium chinense) รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าเก๋ากี่ทิเบต ซึ่งมักจะมาในรูปน้ำคั้นหรือในรูปผลแห้ง ปลูกกันในเขตมองโกเลีย และหิมาลัย ผลไม้สีแดงชนิดนี้รสชาติไม่เปรี้ยวเหมือนแครนเบอร์รี และไม่หวานเท่าลูกเก
- ต้นเก๋ากี่มีความสูงราว 12 ฟูต มีอายุยืนได้หลายร้อยปี อยู่ได้แม้ในสภาพอากาศที่รุนแรง บางทีอาจเป็นเพราะคุณสมบัติที่ทำให้พืชชนิดนี้มีอายุยืนยาว มันจึงมีคุณสมบัติบางอย่างที่ช่วยต่อต้านความแก่ชรา
- เก๋ากี่นี้มีฉายาว่า "สมุนไพรเพื่อความมีอายุยืนยาว" จัดอยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับพริก, มะเขือ, มะเขือเทศ และมันฝรั่ง พืชจากวงศ์นี้มีมากมายที่เป็นอาหารและยา รวมทั้งสมุนไพร ashwagandha ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีชื่อเสียงในการบำบัดของอายุรเวท ผลแห้งมีลักษณะคล้ายกับลูกเกดสีแดงรสชาติจะออกเปรี้ย
ประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ
- นักสมุนไพรชาวจีนแนะนำให้ใช้ผลเก๋ากี่เพื่อปกป้องตับและไต, ช่วยการไหลเวียน, และช่วยอาการต่าง เช่น วิงเวียน, เสียงลั่นในหู, ตาเบลอมองไม่ชัด แลปัญหาสายตาอื่น ๆ เก่ากี่ยังใช้เป็นยาอายุวัฒนะ, เพิ่มภูมิคุ้มกันและสมรรถภาพทางเพศ
- ผลเก๋ากี่ดูจะมีประโยชน์มากกับตับ โดยช่วยปกป้องจากสารพิษต่าง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายครั้งก็แสดงให้เห็นมากมาย การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ethnopharmacology พบว่า ผลเก๋ากี่ลดความเสียหายของตับในหนูทดลองที่ได้รับสารเคมีที่เป็นพิษลงได้ นักวิจัยคาดว่าคุณสมบัติในการป้องกันนี้อาจเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติที่เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่แรง
- การศึกษาเบื้องต้นในสัตว์ทดลองยังแนะว่า เก๋ากี่อาจช่วยให้น้ำตาลในเลือดสมดุล และนักวิจัยคาดว่านี่ยังอาจช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ด้วย

มามองกันให้ชัด
- ผลเก๋ากี่อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน, วิตามินบีชนิดต่าง ๆ และวิตามินซี มีสารเบต้าซิโทสเตอรอล (beta-sitosterol) ซึ่งต่อต้านการอักเสบ และโพลีแชคคาไรด์ที่ช่วยภูมิคุ้มกัน ทำให้ผลไม้นี้ทำลายอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างมาก ที่น่าสนใจคือ สารโพลีแซคคาไรด์ในเก๋ากี่นั้นเหมือนกับที่พบในสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเพิ่มภูมิคุ้มกันเช่นกันอย่างเช่น เอ็คไคเนเซีย, แอสทรากาลัส และเห็ดริชิ
- ที่ไม่ค่อยจะเหมือนผลไม้อื่นก็คือ เก๋ากี่ยังเป็นแหล่งที่ให้กรดไขมันจำเป็นและอะมิโน แอซิด โดยมีอะมิโน แอซิด 18 ชนิด รวมทั้งมีอะมิโน แอซิด ที่จำเป็น (essential amino acids) ครบทั้งแปดชนิดอีกด้วย
อาหารที่มีคุณสมบัติแอนตี้ออกซิแดนท์มากที่สุด
ผลไม้ | ค่า ORAC |
ลูกเก๋ากี่ | 25,300 |
ลูกพรุน | 5,770 |
บลูเบอร์รี | 2,400 |
ผักกาดใบหยิก | 1,770 |
แครนเบอร์รี | 1,750 |
สตรอว์เบอร์รี | 1,540 |
ผักปวยเล้ง | 1,260 |
ทับทิม | 1,245 |
ราสป์เบอร์รี | 1,220 |
บีท | 840 |
ส้ม | 750 |
สรรพคุณโดยรวมของเม็ดเก๋ากี้คือ
1. ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายจะสมบูรณ์ขึ้น เพราะมีสารต่างซึ่งทำหน้าที่เหมือนโมเลกุลหลักในร่างกาย ที่เมื่อเกิดการทำงานร่วมกันแล้วจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม และนำพาคำสั่งต่างๆ ที่เซลล์ของร่างกายใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ครอบคลุมทุกระบบ ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานสัมพันธ์กันได้ดี ซึ่งจะช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แก้อาการอ่อนเพลีย เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ช่วยให้หัวใจแข็งแรง ช่วยสร้างเม็ดเลือดที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยระบบเจริญพันธุ์ ลดอาการอักเสบของโรคไขข้ออักเสบ เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และกระดูก ช่วยให้เหงือกแข็งแรง ปรับปรุงระบบการย่อย ลดความเครียด อาการปวดศีรษะ แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยในการนอนหลับ ช่วยในเรื่องความจำ ทำให้รู้สึกสดชื่น บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ปรับปรุงคุณภาพของการนอน ช่วยให้การออกกำลังกายได้นานขึ้น ช่วยขจัดความเมื่อยล้าและความเฉื่อยชา
2. ใช้รักษาอาการทางด้านสายตา จากงานวิจัยพบว่าเมล็ดเก๋ากี้ยังมีสารจำพวก zeaxanthin และlutein อยู่สูงมากซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารจำพวก carotenoid ที่ช่วยป้องกัน ช่วยปรับสภาพแสง และกรองแสงสีน้ำเงินที่เข้าสู่ตาที่มีอันตรายต่อตา ป้องกันการเสื่อมของเลนลูกนัยน์ตาและจอภาพเรตินาจากอนุมูลอิสระได้ ช่วยรักษาโรคตาบอดกลางคืน ช่วยบำรุงสายตาทำให้การมองเห็นเป็นปกติ นอกจากนี้ผลเก๋ากี้ยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอจากเอนไซม์ที่ตับ ซึ่งวิตามินเอมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness) หากร่างกายขาดวิตามินเอจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
3. เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ในผลเก๋ากี้มีสาร Polysaccharides ที่ช่วยกระตุ้นให้เซลเม็ดเลือดขาว (T & B lymphocyte) ปรับปรุงเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้ดีขึ้น สร้างความแข็งแรงของเม็ดเลือด ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ เก๋ากี้มีสารพวกฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่ช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงไม่ให้อนุมูลอิสระมาทำลาย และช่วยกระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดได้
4. เก๋ากี้ มีวิตามิน B1, B2, C และสารพวกฟลาวานอยด์ในปริมาณที่สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระโดยไปกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในร่างกายให้ทำงานต้านอนุมูลอิสระได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการกำจัดอนุมูลอิสรจะช่วยปกป้องผนังเซลล์ในร่างกาย ช่วยดูแลเรื่องผิวพรรณชะลอความชรา กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต โดยต่อมใต้สมอง (human growth hormone)
5. ช่วยต่อต้านมะเร็งและสามารถหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง อนุมูลอิสระในผลเก๋ากี้มีผลช่วยทำลายป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง ทั้งยังพบว่าเบต้าแคโรทีนสามารถช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายให้ทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ซึ่งให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยของจีนที่บ่งชี้ว่า ผลเก๋ากี้ช่วยต่อต้านมะเร็งและยังสามารถหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยในปี พ.ศ.2537 มีผลการศึกษาที่ได้รับการบันทึกลงในวารสารจีนเกี่ยวกับเนื้องอกว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีการตอบสนองในการรักษาโรคมะเร็งดีขึ้นเมื่อมีการนำผลเก๋ากี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการรักษา และยังช่วยอาการข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีคีโมและฉายรังสีด้วย
6. ลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้เป็นเบาหวาน ลดโคเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ยับยั้งการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยให้หัวใจแข็งแรง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น เพราะในเก๋ากี้มีสารพวกไซเพอโรน (cyperone) ซึ่งมีผลดีต่อหัวใจและความดันเลือด นอกจากไซเพอโรนยังมีสารแอนโทโซยานิน (anthocyanins) ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง มีเบต้า-ไซโตสเตอรอล (beta-sitosterol) ซึ่งสามารถช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลที่ดีต่อร่างกาย ให้อยู่ในปริมาณสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยป้องกันไม่ให้โคเลสเตอรอลถูกเติมออกซิเจนและเกิดเป็นคราบอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้ยังมีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่ช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ที่ทำให้เกิดเป็นโรคหัวใจเนื่องจากเส้นเลือดตีบ
7. เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยให้เหงือกแข็งแรง
8. ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
9. ส่งเสริมให้การทำงานของตับเพราะมีซีรีโบรไซด์(cerebroside) ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของตับให้เป็นปกติ
10. ส่งเสริมให้การทำงานของไตให้เป็นปรกติ
11. ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในกระเพาะอาหารทำงานได้เป็นปกติ ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารดีขึ้น
12. มีบีเทนที่ช่วยให้เกิดการสร้างสารโคลีน (choline) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ช่วยเสริมความจำให้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเพื่อควบคุมความกังวลและความเครียดให้ลดลงอยู่ในสภาวะปกติ ด้วยเหตุนี้เก๋ากี้จึงมีชื่อเรียกอย่างว่า แฮปปี้เบอร์รี่ (happy berry) ทำให้มีอารมณ์ที่สดชื่นแจ่มใส
13. ช่วยระบบเจริญพันธุ์ ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (Testosterone) ในเลือดทำให้มีความต้องการทางเพศมากขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม www.takenthailand.com
www.facebook.com/takenthailand
www.facebook.com/takenthailand
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น